messager
 
องค์การบริหารส่วนตำบลคำโพน call ข้อมูลการติดต่อ



ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลคำโพน อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ
check_circle ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของพื้นที่ เมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีมาแล้ว ได้มีชาวบ้านเชื้อสายไทยลาวยวน หรือลาวยวนจากเขตอำเภอเมือง อำเภอหนองแซง อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ได้พากันอพยพย้ายถิ่นฐานมาตั้งหลักแหล่งทำมาหากิน ในเขตพื้นที่จังหวัดพิจิตร บริเวณบ้านคำโพนปัจจุบัน มีการบุกรุกบริเวณดังกล่าวเพื่อทำการเกษตรกรรม ซึ่งในบริเวณดังกล่าวจะมีน้ำไหลผ่าน และลำน้ำดังกล่าวจะมีแมงดาอาศัยอยู่มากจึงเรียกว่า “ลำแมงดา” ภายหลังเรียกเพี้ยนเป็น “คำโพน” ลำน้ำที่ว่านี้มีแนวยาวจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกทิศตะวันออกเรียก “บ้านคำโพนเหนือ” เพราะอยู่เหนือน้ำ ทางทิศตะวันตกเรียก “บ้านคำโพนใต้” ซึ่งบ้านคำโพนใต้อยู่ในพื้นที่ตำบลคำโพน ในปัจจุบัน กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้งตำบลคำโพน เมื่อเดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ เนื่องจากได้ประกาศตั้งอำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดอำนาจเจริญ เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๓๖ และได้แบบพื้นที่การปกครองพื้นที่จากตำบลหนองข่า รวมเป็น ๑๐ หมู่บ้าน จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ บ้านสามแยก อยู่ในเขตของหมู่ที่ ๑ เริ่มก่อตั้ง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗ เดิมอยู่ในพื้นที่เขตตำบลหนองข่า อำเภอชานุมาน จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นป่าไม้รกชัฏ มีความอุดมสมบูรณ์มาก คุณพ่อพุทธา วรบุตร ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในอำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี ได้นำพรรคพวกมาทำกิน ทำไร่ ทำสวนจนเจริญรุ่งเรือง กลายมาเป็นบ้านสามแยกจนถึงปัจจุบัน บ้านโค้งอร่าม เป็นหมู่บ้านหมู่ที่ ๒ ของตำบลคำโพนเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บริเวณทางโค้งและมีความเชื่อว่า หากผู้ใดได้อยู่อาศัยจะมีความเจริญรุ่งเรืองทำมาค้าขายร่ำรวย บ้านคำโพนอยู่ในท้างที่หมู่ที่ ๓ และ ๙ ของตำบลคำโพน เป็นชนเผ่าภูไทยอพยพมาจากบ้านดงมะไฟเมืองเซโปน แขวงสระหวันเขต ประเทศลาวโดยมีนายเพ็ง นายโพธิ์ ไม่ทราบนามสกุลเป็นหัวหน้าอพยพและสาเหตุที่ได้ชื่อว่าบ้านคำโพน บ้านหินเกิ้ง อยู่ในเขตท้องที่หมู่ที่ ๔ เนื่องจากลักษณะพื้นที่จะเป็นหินดานและเชื้อกันว่าเคยมีการประทุของภูเขาไฟ ซึ่งเมื่อเย็นตัวจึงกลายเป็นหินเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๒ โดยมีนายคะ บุญมาก เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก บ้านิคมอยู่ท้องที่หมู่ที่ ๕ ของตำบลคำโพน เดิมการปกครองจะเป็นระบบคอมมิวนิสต์หรือแบบปกครองตนเองซึ่งเป็นที่มาของคำว่านิคม บ้านดานกอย อยู่ที่พื้นที่หมู่ที่ ๖ เป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยป่าและพันธุ์ไม้นานาชนิด มีลักษณะเป็นภูเขาเตี้ย เริ่มมีการบุกเบิกก่อตั้งเป็นกระท่อมเล็กๆ ๕-๖ หลัง เมื่อปี ๒๕๒๔ และพื้นที่บริเวณนั้นมีเผือกมันกอยขึ้นเป็นจำนวนมากจึงเป็นที่มาของชื่อบ้านภูดานกอย บ้านดอนนกยูง อยู่ในเขตพื้นที่ ๗ แต่ก่อนบริเวณหมู่บ้านเป็นป่านกยูงอาศัยเป็นจำนวนมาก แต่นกยูงเป็นสัตว์ที่ไม่ฉลาด จึงถูกชาวบ้านจับไปหมด ด้วยเหตุนี้จึงได้ตั้งชื่อว่าบ้านดอนนกยูง บ้านธารศิลา อยู่ในเขตท้องที่หมู่ที่ ๘ อันเป็นหมู่บ้านที่มีที่ความเป็นมาเช่นเดียวกับบ้านหินเกิ้ง แต่เนื่องจากได้มีการจัดตั้งจังหวัดอำนาจเจริญขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ (แยกมาจากอุบลราชธานี) และได้แบ่งเขตการปกครองแยกจากตำบลหนองข่ามาเป็นตำบลคำโพน จึงเป็นที่มาของการแยกหมู่บ้าน บ้านพุทธศิลป์อยู่ในเขตหมู่ที่ ๑๐ ได้ตั้งตามชื่อคุณพ่อพุทธา วรบุตร ซึ่งมีถิ่นกำเนินอำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี โดยได้นำพรรคพวกมาทำกิน ทำไร่ ทำสวนสร้างความเจริญ กลายมาเป็นบ้านสามแยกจึงกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๔๒ นายสุพล เอาไชย ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านบ้านสามแยก บ้านพุทธศิลป์ออกจากบ้านสามแยกและได้ตั้งชื่อบ้านจาก “พุทธา” เป็น “พุทธศิลป์” องค์การบริหารส่วนตำบลคำโพน ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ ตามประกาศ กระทรวงมหาดไทย ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙และใช้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาในเขตตำบลคำโพน

สภาพทั่วไป
ที่ตั้ง ตำบลคำโพนตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ อยู่ห่างจากอำเภอปทุมราชวงศา ประมาณ 7 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดอำนาจเจริญ 38 กิโลเมตร เดินทางตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202 (ถนนอรุณประเสริฐ) ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคำโพนตั้งอยู่ที่ หมู่ 9 บ้านคำโพน ตำบลคำโพน ถนนอรุณประเสริฐ (บ้านสามแยก - หินเกิ้ง) ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลโคกก่ง อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลนาหว้า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลหนองผือ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลหนองข่า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ เนื้อที่ ตำบลคำโพนมีเนื้อที่ทั้งสิ้น ประมาณ 93 ตารางกิโลเมตร หรือจำนวน 58,125 ไร่ แยกเป็น - พื้นที่เพื่อการเกษตร 50,400 ไร่ - พื้นที่อยู่อาศัย 3,200 ไร่ - พื้นที่สาธารณประโยชน์ 4,525 ไร่ สภาพภูมิประเทศ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบและที่ราบสูง มีภูเขาเล็กๆ เป็นแนวยาว (เขตบ้านโค้งอร่าม , บ้านคำโพน) และมีภูเขาเป็นลูกๆ ที่บ้านธารศิลา (ภูข่า) บ้านภูดานกอย (ภูหินเหล็กไฟ) บ้านดอนนกยูง (ภูเผิ่ม) บ้านโค้งอร่าม (ภูดานตู้) หรือ ภูผัก - เปื่อย มีสายน้ำหลายสายเป็นต้นน้ำของลำห้วยต่างๆ เช่น ลำห้วยทราย, ลำห้วยหมาดำ, ลำห้วยหินครก, ลำห้วยผีหลอก, ลำห้วยคันแท, ลำห้วยกุ๊บกั๊บ และลำห้วยเล็กๆ อีกมากมาย จำนวนหมู่บ้าน ตำบลคำโพน มีจำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล เต็มทั้งหมด 10 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านสามแยก ผู้ปกครองคือ นายมานิต พิมสุตะ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 บ้านโค้งอร่าม ผู้ปกครองคือ นายมุงกุฎ สีเขียว ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 บ้านคำโพน ผู้ปกครองคือ นายฤทธิรงค์ โพธิ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 บ้านหินเกิ้ง ผู้ปกครองคือ นายสมาน นามแสน ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านนิคม ผู้ปกครองคือ นายเสริมศักดิ์ ผิวทอง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 6 บ้านภูดานกอย ผู้ปกครองคือ นายบุญมาก ศรีราฤทธิ์ กำนัน หมู่ที่ 7 บ้านดอนนกยูง ผู้ปกครองคือ นายสมเกียรติ หมั่นสาร ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 8 บ้านธารศิลา ผู้ปกครองคือ นายฉลอง สมคะเนย์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 9 บ้านคำโพน ผู้ปกครองคือ นายอุดม วงค์เทพ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 10 บ้านพุทธศิลป์ ผู้ปกครองคือ บุญยัง ก้านกิ่ง ผู้ใหญ่บ้าน ประชากร จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,104 ครัวเรือน ประชากรทั้งสิ้น 8,755 คน ชาย 4,605 คน หญิง 4,150 คน

check_circle สภาพทั่วไป
สภาพทั่วไป
ที่ตั้ง ตำบลคำโพนตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ อยู่ห่างจากอำเภอปทุมราชวงศา ประมาณ 7 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดอำนาจเจริญ 38 กิโลเมตร เดินทางตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202 (ถนนอรุณประเสริฐ) ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคำโพนตั้งอยู่ที่ หมู่ 9 บ้านคำโพน ตำบลคำโพน ถนนอรุณประเสริฐ (บ้านสามแยก - หินเกิ้ง) ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลโคกก่ง อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลนาหว้า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลหนองผือ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลหนองข่า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ เนื้อที่ ตำบลคำโพนมีเนื้อที่ทั้งสิ้น ประมาณ 93 ตารางกิโลเมตร หรือจำนวน 58,125 ไร่ แยกเป็น - พื้นที่เพื่อการเกษตร 50,400 ไร่ - พื้นที่อยู่อาศัย 3,200 ไร่ - พื้นที่สาธารณประโยชน์ 4,525 ไร่ สภาพภูมิประเทศ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบและที่ราบสูง มีภูเขาเล็กๆ เป็นแนวยาว (เขตบ้านโค้งอร่าม , บ้านคำโพน) และมีภูเขาเป็นลูกๆ ที่บ้านธารศิลา (ภูข่า) บ้านภูดานกอย (ภูหินเหล็กไฟ) บ้านดอนนกยูง (ภูเผิ่ม) บ้านโค้งอร่าม (ภูดานตู้) หรือ ภูผัก - เปื่อย มีสายน้ำหลายสายเป็นต้นน้ำของลำห้วยต่างๆ เช่น ลำห้วยทราย, ลำห้วยหมาดำ, ลำห้วยหินครก, ลำห้วยผีหลอก, ลำห้วยคันแท, ลำห้วยกุ๊บกั๊บ และลำห้วยเล็กๆ อีกมากมาย จำนวนหมู่บ้าน ตำบลคำโพน มีจำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล เต็มทั้งหมด 10 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านสามแยก ผู้ปกครองคือ นายมานิต พิมสุตะ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 บ้านโค้งอร่าม ผู้ปกครองคือ นายมุงกุฎ สีเขียว ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 บ้านคำโพน ผู้ปกครองคือ นายฤทธิรงค์ โพธิ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 บ้านหินเกิ้ง ผู้ปกครองคือ นายสมาน นามแสน ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านนิคม ผู้ปกครองคือ นายเสริมศักดิ์ ผิวทอง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 6 บ้านภูดานกอย ผู้ปกครองคือ นายบุญมาก ศรีราฤทธิ์ กำนัน หมู่ที่ 7 บ้านดอนนกยูง ผู้ปกครองคือ นายสมเกียรติ หมั่นสาร ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 8 บ้านธารศิลา ผู้ปกครองคือ นายฉลอง สมคะเนย์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 9 บ้านคำโพน ผู้ปกครองคือ นายอุดม วงค์เทพ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 10 บ้านพุทธศิลป์ ผู้ปกครองคือ บุญยัง ก้านกิ่ง ผู้ใหญ่บ้าน ประชากร จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,104 ครัวเรือน ประชากรทั้งสิ้น 8,755 คน ชาย 4,605 คน หญิง 4,150 คน

check_circle สภาพสังคม
สภาพสังคม
การศึกษา - มีโรงเรียนทั้งหมด 5 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนสามแยกผดุงวิทย์ โรงเรียนบ้านคำโพน โรงเรียนบ้านนิคม โรงเรียนบ้านหินเกิ้ง โรงเรียนบ้านโค้งอร่าม บุคลากรครู/ อาจารย์ รวม 16 คน บุคลากรครู/ อาจารย์ รวม 14 คน บุคลากรครู/ อาจารย์ รวม 6 คน บุคลากรครู/ อาจารย์ รวม 16 คน บุคลากรครู/ อาจารย์ รวม 4 คน - มีศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน 1 แห่ง คือ ศูนย์บ้านคำโพน - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมี 3 แห่ง สถาบันและองค์กรทางศาสนา - วัด / สำนักสงฆ์ 14 แห่ง - โบสถ์ 1 แห่ง ด้านสาธารณสุข ตำบลคำโพน มีสถานีอนามัยประจำตำบล 2 แห่ง คือ - สถานีอนามัยบ้านคำโพน มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 3 คน พนักงานจ้าง 1 คน โดยรับผิดชอบผู้ป่วย 5 หมู่บ้าน คือ บ้านคำโพน(ม.3, 9) บ้านหินเกิ้ง บ้านธารศิลา บ้านภูดานกอย - สถานีอนามัยบ้านสามแยก มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 3 คน พนักงานจ้าง 5 คน โดยรับผิดชอบผู้ป่วย 5 หมู่บ้าน คือ บ้านสามแยก บ้านโค้งอร่าม บ้านพุทธศิลป์ บ้านดอนนกยูง บ้านนิคม - อัตราการมีส้วมใช้ ร้อยละ 100 % - อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 144 คน

check_circle สภาพทางเศรษฐกิจ
สภาพทางเศรษฐกิจ
การประกอบอาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ของตำบลคำโพนประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ทำนา ทำไร่ ทำสวนยางพารา ปศุสัตว์) มีบางส่วนประกอบธุรกิจในครัวเรือน และรับราชการ รับจ้างทั่วไป ฯลฯ หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคำโพน - รีสอร์ท 1 แห่ง - ปั๊มน้ำมัน 1 แห่ง - ปั้มหลอด 12 แห่ง - ร้านซ่อมรถ 4 แห่ง - ร้านค้า 31 แห่ง - โรงงานอุตสาหกรรม 2 แห่ง - ร้านโชคประเสริฐการเกษตร ม. 7 - ร้าน ส.พานิช ม.2

check_circle การบริการพื้นฐาน
การบริการพื้นฐาน
การคมนาคม การคมนาคมติดต่อระหว่างหมู่บ้านส่วนใหญ่จะเป็นถนนลูกรัง การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอ จังหวัด และจังหวัดใกล้เคียงสะดวก มีถนนดังนี้ - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202 อำนาจเจริญ - ปทุมราชวงศา - ตำบลคำโพน - ถนนลาดยาง รพช. สายบ้านสามแยก – หินเกิ้ง ระยะทาง 5.87 กิโลเมตร - ถนนลูกรังเชื่อมระหว่างหมู่บ้านต่างๆ - ถนนลาดยาง รพช. ถนนอรุณประเสริฐ – บ้านนิคม ระยะทาง 1,647 เมตร - สะพาน คสล. จำนวน 4 แห่ง - สะพานไม้ จำนวน 6 แห่ง การโทรคมนาคม - ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเอกชน จำนวน 1 แห่ง (ที่บ้านสามแยก) - สถานีโทรคมนาคม จำนวน 1 แห่ง คือสถานีทวนสัญญาณโทรศัพท์ห้วยหินครก บ้านดอนนกยูง - โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 11 แห่ง - วิทยุสื่อสารระหว่างอำเภอ - อบต.- หมู่บ้าน จำนวน 2 เครื่อง - หอกระจายข่าวทุกหมู่บ้าน - ศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตตำบล จำนวน 1 แห่ง การไฟฟ้า - ตำบลคำโพนประชากรมีไฟฟ้าใช้ จำนวน 10 หมู่บ้าน แต่มีบางครอบครัวที่ขยายใหม่อาศัยตามไร่ นา สวน ระบบไฟฟ้ายังเข้าไปไม่ถึงต้องอาศัยแผงโซลาเชลล์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า แหล่งน้ำธรรมชาติ จากลักษณะภูมิประเทศของตำบล เป็นภูเขาทอดยาวและเป็นลูกๆ หลายหมู่บ้านเป็นสันแบ่งปันน้ำธรรมชาติทำให้เกิดต้นน้ำธรรมชาติเป็นลำห้วยต่างๆ หลายสาย ได้แก่ ลำห้วยหมาดำ ลำห้วยทราย ห้วยหินครก ห้วยผีหลอก ห้วยเอี่ยนด่อน ห้วยคันแท ห้วยดู่ ห้วยแดง ห้วยกุ๊บกั๊บ และลำห้วยเล็กๆ เป็นสาขาอีกมากมายจะไหลไปทางทิศเหนือลงสู่ลำน้ำสู่แม่น้ำโขง เขตอำเภอชานุมาน สันน้ำอีกฝ่ายหนึ่งน้ำจะไหลไปทางทิศใต้เขตบ้านโค้งอร่าม บ้านสามแยก – พุทธศิลป์ ลงสู่ลำห้วยลึก ลำห้วยเที่ยว สู่เขตอำเภอพนา ไหลลงสู่แม่น้ำมูล จังหวัดอุบลราชธานี แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น - ฝาย/พนังกั้นน้ำ/ทำนบ จำนวน 21 แห่ง - บ่อบาดาล/บ่อโยก จำนวน 33 แห่ง - บ่อน้ำตื่น จำนวน 82 แห่ง - ประปาหมู่บ้าน จำนวน 10 แห่ง - ธนาคารน้ำประจำสถานีอนามัย 2 แห่ง จำนวน 10 ถัง

check_circle วิสัยทัศน์/พันธกิจ
วิสัยทัศน์ (VISION) ในการพัฒนาท้องถิ่น
วิสัยทัศน์ (VISION) ในการพัฒนาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลคำโพน ได้กำหนดวิสัยทัศน์ (VISION) เพื่อเป็นสถานการณ์ในอุดมคติซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายและปรารถนา คาดหวังที่จะให้เกิดขึ้นหรือบรรลุผลในอนาคตข้างหน้า ตำบลคำโพนเป็นตำบลขนาดกลางประชาชนส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่หนาแน่นปานกลางและสงบสุขและคาดการณ์ว่าในอนาคตต้องเป็นชุมชนที่สงบสุขน่าอยู่อาศัยมีทัศนียภาพและสิ่งแวดล้อมดีจึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ความคาดหวังที่จะเกิดขึ้นในอนาคตดังนี้ พัฒนายั่งยืน ฟื้นฟูประเพณี สุขภาพดีทั่วหน้า การศึกษาเจริญ เพลิดเพลินแหล่งท่องเที่ยว ไม่ยุ่งเกี่ยวยาเสพติด

พันธกิจ (MISSION)
พันธกิจ (MISSION) 1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2. ส่งเสริมสนับสนุนวัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่น 3. ส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชนและครอบครัว 4. ส่งเสริมการจัดการศึกษาในท้องถิ่น 5. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่น 6. สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังและป้องกันยาเสพติด 7. ส่งเสริมการศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่น 8. ส่งเสริมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล 9. ส่งเสริมการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 10. อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

image สินค้า OTOP
กลุ่มสตรีทอผ้า ทอผ้าไหม ผ้าขิด ผ้าฝ้าย ที่ตั้งบ้านโค้งอร่าม หมู่ที่ ๒ ตำบลคำโพน อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ[4 มกราคม 2555]
 
location_on สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว
วัดภูเผิ่ง[17 มิถุนายน 2565]
วัดถ้ำผาแอ่น[17 มิถุนายน 2565]
วัดหินสามก้อน[17 มิถุนายน 2565]
วัดป่าศรีวิชัยสุวรรณาราม (วัดด่านเกวียนลั่น) [17 มิถุนายน 2555]